วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลกระทบจากภาพยนตร์



แนวคิดเรื่องผลกระทบจากภาพยนตร์ที่มีต่อเด็ก
                ปัจจุบัน ภาพยนตร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมยามว่าง ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในสังคม และได้เข้ามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการโน้มนำความคิด ทัศนคติของคนผ่านทางเรื่องราว และการแสดงออกของตัวละคร
                ภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นมากมายในปัจุบันนั้น มีทั้งภาพยนตร์ที่ทำเพื่อตอบสนองสังคมในเชิงเสริมสร้าง และทำเพื่อตอบสนองสังคมในเชิงความต้องการ(demand) จึงทำให้ภาพยนตร์มีความหลากหลายในด้านเนื้อหา สาระ และจุดประสงค์ของภาพยนตร์ ซึ่งจากความคิดตรงนี้ ทำให้ภาพยนตร์ในแต่ละเรื่องนั้นมีความอ่อนโยน รุนแรง ให้ข้อคิด หรือให้ความสนุกแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังส่งผลกระทบต่อเด็กในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
-          ด้านความรุนแรง แม้กระทั่งในภาพยนตร์การ์ตูนก็ยังมีภาพความรุนแรงให้เห็นได้บ่อย ๆ แน่นอนว่าอาจก่อให้เกิดความเคยชินให้กับตัวเด็ก ส่งผลต่อการเลียนแบบ เด็กในวัย 6- 12 ปี ซึ่งอาจจะเดินเข้าไปดูภาพยนตร์น้อยกว่าวัยอื่นๆ แต่อาจจะรับชมจากภาพยนต์จากแผ่นที่พ่อแม่เปิดดูที่บ้าน ซึ่งถ้าเด็กดูแล้วเกิดการเลียนแบบ ถ้าพ่อแม่เห็นว่าพฤติกรรมเลียนแบบของลูกเป็นเรื่องน่ารัก สนุกสนาน พฤติกรรมนั้นอาจติดตัวเด็กไป แต่ถ้าพ่อแม่สอนว่าอะไรควรอะไรไม่ควรก็จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
-          ทางด้านเพศ  เห็นได้ชัดว่า ปัจจุบันมีภาพยนตร์ที่สื่อถึงเพศที่สามจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดค่านิยมและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศของเด็ก รวมไปถึงภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศโดยตรง เช่น  American pie เป็นต้น สร้างความเคยชินให้กับเด็ก โดยเฉพาะเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น อาจเข้าใจผิดหรือเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกวิธี
-          การใช้ภาษา โดยเฉพาะในภาพยนตร์ตลกส่วนใหญ่มีการใช้ภาษาหยาบคาย สร้างความเคยชินให้กับเด็กโดยไม่รู้ตัว  เด็กอาจจะแยกไม่ออกว่าคำพูดไหนควรไม่ควร และแยกไม่ได้ว่าคำพูดนั้นเป็นเพียงบทสนทนาที่สร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น
-          สารเสพติด การที่เด็กเห็นภาพที่ตัวละครเอก ที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กเสพย์สารเสพติด เด็กยังไม่สามารถแยกแยะว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติหรือไม่ และเด็กเกิดการซึมซับว่า หากตนต้องการเป็นคนที่เป็นฮีโร่ ก็ต้องเสพย์สารเสิพติด เพื่อความเท่ห์ ดูดี ต้องการการยอมรับจากเพื่อน หรือสังคม
-          ความเชื่อ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่สามารถสร้างระบบความคิดความเข้าใจที่ผิด ๆ ได้ เพราะเด็กเองยังไม่สามารถแยกแยะว่า สิ่งใดเป็นเพียงสิ่งที่สร้างความบันเทิง ไม่ใช่เรื่องจริง เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้เรื่องค่านิยม หากเด็กได้ชมภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนา  พระวิ่งหนีผี กลายเป็นการปลูกฝังความเชื่อ ความกลัวให้ติดตัวเด็ก ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กต่อไป
-          ค่านิยม  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาตินิยม เช่น ภาพยนตร์เรื่องหมากเตะโลกตะลึง เป็นการล้อเลียนชาติอื่น ทำให้เด็กถูกสร้างค่านิยมในการดูถูกชาติอื่น
                จากประเด็นตรงนี้เองที่ทำให้เกิดการเซนเซอร์ หรือการจัดเรทภาพยนตร์ เพื่อให้ภาพยนตร์ต่างๆที่มีความหลากหลายนั้น ไม่ส่งผลกระทบในด้านที่ไม่ดีต่อคนในสังคม โดยเฉพาะเด็ก เนื่องจากว่าเด็กนั้น ยังเป็นวัยที่ไม่มีความมั่นคงทางความคิดเชิงเหตุและผล เป็นวัยที่ชอบเลียนแบบ และเป็นวัยที่สมองยังพัฒนาไม่เต็มศักยภาพ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมตรงนี้แล้ว อาจจะทำให้เด็กในสังคมของเรามีพฤติกรรมที่ไม่ถูกไม่ควร โดยมีสาเหตุมาจากภาพยนตร์ได้ โดยสามารถที่จะอธิบายแนวความคิดได้ 3 แนวทาง คือ
                1.แนวความคิดทางด้านชีววิทยา – กล่าวโดยภาพกว้างแล้ว พัฒนาการสมองของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะสมองส่วนที่เรียกว่า Prefrontal cortex ซึ่งเป็นสมองที่ทำหน้าที่เหมือน CEO (ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด เกี่ยวกับเหตุผล) ซึ่งหากในวัยเด็กได้รับข้อมูลเข้ามา เด็กก็จะยังไม่สามารถแยกแยะความเป็นเหตุและผลได้ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่อาจจะเลียนแบบมาจากในภาพยนตร์ เช่นการสูบบุหรี่ การใช้ความรุนแรง หรืออาจจะเป็นในด้านความเชื่อ หรือทัศนคติต่างๆที่อาจจะทำให้ติดตัวเด็กไปในอนาคตได้
                2.แนวความคิดทางด้านจิตวิทยา – พฤติกรรมในวัยเด็กซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สำคัญคือ พฤติกรรมการเลียนแบบ ซึ่งมีนักจิตวิทยาชาวแคนาดาท่านหนึ่ง มีชื่อว่าอัลเบิร์ต แบนดูรา(Albert Bandura) ได้พูดถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคม(Social Learning Theory) มีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า “เด็กจะไม่ค่อยทำตามในสิ่งที่ผู้ใหญ่บอกให้กระทำ แต่จะทำตามสิ่งที่ผู้ใหญ่กระทำ” แสดงให้เห็นว่าหากในภาพยนตร์ มีการแสดงออกอะไรแล้ว เด็กก็อาจจะทำตามภาพยนตร์ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ดี เด็กก็จะมีพฤติกรรมเลียนแบบ และอาจจะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมติดตัวที่ไม่ดีต่อไปในอนาคตได้
                3.แนวความคิดทางด้านสังคมวิทยา – กระบวนการที่สำคัญ และสามารถสื่อผ่านภาพยนตร์ได้คือกระบวนการขัดเกลาทางสังคม(Socialization) ซึ่งภาพยนตร์สามารถที่จะโน้มนำ ชี้นำทัศนคติของสังคมได้ ยกตัวอย่างเช่น หากภาพยนตร์พยายามที่จะเน้นเรื่องการรักษาวัฒนธรรม พยายามสนับสนุนเรื่องการรักษาวัฒนธรรม ก็จะส่งผลมาถึงสังคม และที่สำคัญในทัศนคติของเด็ก กระบวนการแยกย่อยที่สำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมคือ “กระบวนการขัดเกลาทางสังคมขั้นปฐมภูมิ” (Primary Socialization) ซึ่งมีใจความว่า การขัดเกลาขั้นปฐมภูมิจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้เรียนรู้ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำที่เหมาะสมจะเป็นสมาชิกหนึ่งในวัฒนธรรมนั้นๆ ยกตัวอย่าง เช่น หากเด็กได้เห็นพ่อแม่แสดงออกถึงพฤติกรรมการแบ่งแยกสีผิว เด็กก็มีแนวโน้มว่าพฤติกรรมนั้นๆยอมรับได้ และก็จะมีความคิดอย่างนั้นสืบเนื่องต่อไป จึงสามารถอธิบายได้เช่นเดียวกับภาพยนตร์ หากเด็กมีทัศนคติเปลี่ยนไปตามภาพยนตร์ แล้วภาพยนตร์นั้นๆมีแนวความคิดที่ไม่ดีต่อสังคม ก็จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นผลดีต่อสังคม เป็นต้น

ท้าชน





ท้าชน

กำหนดฉาย : 29 มกราคม 2552
นำแสดง : ปรีติ บารมีอนันต์ (แบงค์ วงแคลช), แซม เกษม, คณุตรา ชูช่วยสุวรรณ, ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล, อรุชา โตสวัสดิ์, กัมปนาท อั้งสูงเนิน, อณุวัฒ แซ่เจ๊า, กานต์ณัฐ เสมอใจ, วันชาติ ชุณห์ศรี, โกวิทย์ วัฒนกุล, สุเชาว์ พงษ์วิไล
กำกับ : ธนกร พงษ์สุวรรณ 
เว็บไซต์ทางการภพยนตร์



เรื่องย่อ
          ไท ชายหนุ่มที่เพิ่งหลุดจากคดีมาได้ด้วยการวิ่งเต้นของ แทน พี่ชายฝาแฝด แต่เมื่อไทพ้นโทษออกมาได้  เขาพบว่าพี่ชายของเขาบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นโคม่า ไท ได้รับรู้เรื่องราวจาก แป้ง แฟนสาวของแทน ว่าพี่ชายของเขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องอันตรายบางอย่าง เพราะต้องการหาเงินมาช่วยสู้คดีให้เขา ไท รู้สึกผิดที่มีส่วนในการทำให้พี่ชายต้องเป็นแบบนี้ จึงออกสืบหาข้อมูลว่า เกิดอะไรขึ้นกับแทนกันแน่ 

          ในที่สุด ไท ได้เข้ามาสู่วงการแข่งบาสเถื่อน ซึ่งเป็นเกมการพนันใต้ดินที่มีผู้ทรงอิทธิพลหนุนหลังอยู่ เมื่อไทต้องการรู้ให้ได้ว่าใครหรืออะไรคือต้นเหตุให้ แทน พี่ชายของเขาต้องมานอนไม่ได้สติอย่างที่เป็นอยู่ เขาจึงเข้าร่วมทีม "ไฟร์บอล" ของ เฮียเด่น ที่มี สิงห์ เค อิก และ หมึก อยู่ในทีม ซึ่งกว่าที่ไทจะได้รู้ความจริงทั้งหมด เขาต้องแลกด้วยอะไรอีกหลายอย่าง ซึ่งอาจรวมถึง "ชีวิต" ของเขาเองด้วย  

รักแห่งสยาม





รักแห่งสยาม

กำหนดฉาย: 22 พฤศจิกายน 2550
ประเภทภาพยนตร์: รักโรแมนติก
สร้างและจัดจำหน่ายโดย: สหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนล
กำกับภาพยนตร์: ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
อำนวยการสร้าง: สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
ควบคุมการสร้าง: ปรัชญา ปิ่นแก้ว, สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์
บทภาพยนตร์: ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
กำกับภาพ: จิตติ เอื้อนรการกิจ
ออกแบบงานสร้าง: มนต์ชัย ทองศรีสืบสกุล
กำกับศิลป์: ธนกร บุญลือ
ออกแบบเครี่องแต่งกาย: เอกศิษฎ์ มีประเสริฐสกุล
แต่งหน้า: สาริน สุขขะพละ
โลเคชั่น: วราภรณ์ พิบำรุง, วราวุธ ปัญจพลากรกุล
ดนตรีประกอบ: ปวิณ สุวรรณชีพ
นักแสดง:
- สินจัย เปล่งพานิช
- เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
- ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
- มาริโอ้ เมาเร่อ
- วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล
- กัญญา รัตนเพชร์
- อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์

13เกมสยอง





13เกมสยอง


13 เกมสยอง (ชื่ออังกฤษ: 13 Beloved) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวระทึกขวัญ ที่ออกฉายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2549 กำกับโดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย กฤษดา สุโกศลอชิตะ สิกขมานาศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ อเล็กซานเดอร์ ไซมอน เรนเดลล์
13 เกมสยอง เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากเรื่อง "13th Quiz Show" ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูน "รวมเรื่องสั้นจิตหลุด" (My Mania) ของ เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ นักเขียนการ์ตูนชาวไทย[1] สำหรับรางวัลที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคือ รางวัลสาขาผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม โดย กฤษดา สุโกศล จากรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2549

อันธพาล




อันธพาล

แม่นาค3D





แม่นาค 3D (บางกอกอินเตอร์ กรุ๊ปฟิล์ม)

กำหนดฉาย : 1 มีนาคม 2555
แนว : รัก ลึกลับ สยองขวัญ
กำกับ :พิชัย น้อยรอด
นำแสดง : บงกช คงมาลัย, รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง

เรื่องย่อ แม่นาค 3D

          ณ พระโขนง เมื่อผัวเมียคู่หนึ่งยืนล่ำลากันที่ศาลาด้วยความอาลัย นายมาก ผู้ผัวถูกบาดหมายเกณฑ์เลขไพร่ไปเป็นทหารที่บางกอก ฝ่ายเมีย คือ นางนาก ขณะนั้นกำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยู่ด้วย นางนากเอาแต่ร่ำไห้ว่าจะขาดใจตาย ในยามที่เรือของผัวลับคุ้งน้ำไป นายมากถูกเกณฑ์ไปรบในสงคราม ณ สมรภูมิอันกันดาร ได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงถูกส่งตัวไปรักษากับ สมเด็จพุฒาจารย์โตที่วัดระฆัง นางนากไม่ได้ข่าวคราวผัวเลยตั้งแต่จากกันไป ได้แต่เพียรมายืนรอผัวที่ศาลาท่าน้ำแห่งนั้นทุกเมื่อเชื่อวัน ขณะที่ครรภ์ของนางก็ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เข้าเดือนที่ 9 นางนากเจ็บท้องจะคลอดลูก ทิดอ่ำ ได้ตาม ยายเอิบ หมอตำแยมาทำคลอด แต่ลูกในท้องก็หายอมออกมาไม่ นางนากเบ่งลูกด้วยความเจ็บปวดจนในที่สุดก็ขาดใจตายไปทั้งแม่และลูก ฝ่าย นายมาก เมื่อบาดแผลหายดีแล้วก็ให้เป็นห่วงเมีย จึงอำลา สมเด็จโต กลับบ้านที่พระโขนงระหว่างทาง นายมากให้ผิดสังเกตนัก ด้วยทั่วทั้งบางพระโขนงเงียบเหงาวังเวงผิดหูผิดตา ครั้นมาถึงที่ศาลาริมน้ำก็พบ นางนาก อุ้มลูกมายืนรอผัวอยู่ นายมากก็ดีใจที่ได้พบลูกเมีย โดยหาเฉลียวใจไม่ว่าเมียและลูกของตนนั้นเป็นผีหาชีวิตไม่แล้ว

          นายมาก อยู่กินกับ ผีนางนาก ฉันผัวเมีย โดยมิได้ระแคะระคายใด ๆ เลย ผีนางนากเฝ้าปรนนิบัติผัวเฉกเมื่อครั้นยังมีชีวิตอยู่ ความรักความอาลัยของนางนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่ากฎอนิจจัง หากนางเองก็สำเหนียกได้ว่าวันหนึ่งนายมากจะต้องรู้ความจริงว่านางตายไปแล้ว และวันนั้นทั้งสองผัวเมียก็จะต้องจำพรากจากกันไปชั่วนิรันดร์ นางจึงทำทุกวิถีทางเพื่อมิให้นายมากรู้ ขณะที่ชาวบ้านละแวกนั้นเริ่มตายลงทีละคน รวมทั้ง ทิดอ่ำก็ตายลงอย่างลึกลับ และเสียงล่ำลือถึงอิทธิฤทธิ์ ผีนางนากก็ระบือไปทั่วบางพระโขนง จนไม่มีใครกล้าออกไปไหน และแล้วคืนที่ นายมาก รู้ความจริงก็มาถึง เมื่อผีนางนากเผลอนำมะนาวตกลงใต้ถุนเรือน นายมากแอบเห็นเมียแสดงอิทธิฤทธิ์ยื่นมือยาวลงไปเก็บผลมะนาวนั้น ก็รู้ทันทีว่าเมียของตนเป็นผี นายมากตกใจกลัวจึงหนีไปซ่อนตัวที่วัดมหาบุด เวลานั้นญาติทิดอ่ำผู้โกรธแค้นได้ยกพวกมาเผาเรือนนางนาก ผีนางนากอาละวาดฆ่าคนตายไปมากมาย ก่อนจะออกติดตามหาผัวไปถึงวัดมหาบุด จนพระเณรแตกตื่นตกใจกันไปทั่ว ร้อนถึง สมเด็จโต วัดระฆังต้องออกเดินทางมาปราบ ท่านไปที่หลุมศพ นางนากจึงสงบลง สมเด็จโตจึงเจาะเอากระดูกหน้าผากศพชิ้นหนึ่งเพื่อสะกดวิญญาณนางนากไว้ และนำติดตัวไปกับท่านตลอดเวลานับตั้งแต่วันนั้นมาไม่มีใครได้ยินข่าว ผีนางนาก ออกอาละวาดอีกเลย นายมากได้บวชเป็นภิกษุเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เมียรักในสัมปรายภพ ส่วนกระดูกหน้าผากชิ้นนั้นภายหลังได้หายสาบสูญไปเหลือไว้แต่เพียงเรื่องเล่าขานถึงความรักความภักดีต่อผัวของนางนาก ที่ยังคงอยู่ตราบทุกวันนี้

โป๊ะแตก





เนื้อเรื่องย่อ

ตามติดชีวิตกองถ่าย “โป๊ะแตก” เมื่อผู้กำกับตลกชั้นเซียน “หม่ำ จ๊กมก” ขอฉีกตำราการสร้างหนังทุกสำนัก ลองของมากำกับนักแสดงตลกขั้นเทพ “เทพ โพธิ์งาม” พร้อม “รวมดาวชาวตลก” มาร่วมปล่อยมุขสดกันทั้งบาง 

แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าไม่ใช่ “ความฮาแบบไม่ยั้ง” ได้เห็นกันทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังทุกขั้นตอนของการทำหนังซักเรื่อง 


ตามติดชีวิตกองถ่ายแบบฮากระจายไปกับหลากหลายคาแร็คเตอร์ “เล่นจริง อำจริง” ของผู้อำนวยการสร้างจอมเฮี้ยบ, ผู้กำกับปากร้าย, ดาราขี้วีน, ตลกจอมเครียด, ทีมงานขี้เมาท์ และอีกมากมายก่ายกอง(ถ่าย) หนุกหนานขำกลิ้งไปกับตลกสุดโต่ง, ดราม่าสุดแสนโศกา, แอ็คชั่นมันส์ระเบิด(เละ), สยองขวัญสั่นประสาท ยันฉากเลิฟซีนสุดซี้ดกับเหล่าผู้ชายหลายบาป...ว่าเข้าไปนั่น


คละเคล้ามุขเด็ดขำเข็ดFUN เฮฮาน้ำตาเล็ด...ตลอดเรื่อง กับ “โป๊ะแตก” หนังตลกรสชาติใหม่สไตล์ “หนังซ้อนหนัง - ตลกซ้อนตลก” ที่จะทำให้คุณฮาไม่เสร็จกันเลยทีเดียว

ALI




ALI 

Film by:Michael Mann


เนื้อเีรื่องทำมาจากชีวิตจริงของนักแสดงผู้โด่งดังไปทั่วโลก Will Smith หรือ Based on true story นั่นเอง

จันดารา





จัน ดารา เป็นภาพยนตร์ไทยดัดแปลงจากนิยายเรื่อง เรื่องของจัน ดารา ซึ่งอุษณา เพลิงธรรม เขียนลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ปี 2507 ถึงปี 2509 มีหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นผู้เขียนบทและกำกับ และสหมงคลฟิล์มสร้างเป็นทวิภาคต่อเนื่องกัน คือ จัน ดารา ปฐมบท เผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2555[1] และ จัน ดารา ปัจฉิมบท เผยแพร่ในปี 2556 มีเนื้อหาทำนองนาฎกรรมเชิงสังวาส ว่าด้วยความสัมพันธ์ของครอบครัวหนึ่ง ทั้งที่เป็นความรักฉันญาติ ความรักฉันชู้สาว และความเคียดแค้นชิงชัง ชนิดที่ตัวละครแต่ละตัวล้วนเป็นกระจกสะท้อนพฤติกรรมของกันและกัน
จัน ดารา ฉบับนี้นับเป็นการดัดแปลงนิยายข้างต้นเป็นภาพยนตร์ครั้งที่สาม หลังจากฉบับปี 2520 ซึ่งรัตน์ เศรษฐภักดีกำกับ และฉบับปี 2544 ซึ่งนนทรีย์ นิมิบุตร กำกับ ตามลำดับ[1]

Memento






Memento

film by:Christopher Nolan
Memento is a 2000 American neo-noir psychological thriller film written and directed by Christopher Nolan, adapted from his younger brother Jonathan's short story "Memento Mori".
Memento is presented as two different sequences of scenes: a series in black-and-white that are shown chronologically, and a series of color sequences shown in reverse order. The two sequences "meet" at the end of the film, producing one common story.[2] It stars Guy Pearce as Leonard Shelby, a man with anterograde amnesia, which impairs his ability to store new explicit memories. During the opening credits, which portray the end of the story, it is shown that Leonard kills Teddy (Joe Pantoliano). The film suggests that this killing is vengeance for the rape and murder of his wife (Jorja Fox) based on information provided by Natalie (Carrie-Anne Moss).
Memento premiered on September 5, 2000, at the Venice International Film Festival to critical acclaim and received a similar response when it was released in European theaters starting in October 2000. Critics especially praised its unique, nonlinear narrative structure and themes of memoryperceptiongriefself-deception, and revenge. The film was successful at the box office and received numerous accolades, includingAcademy Award nominations for Original Screenplay and Film Editing.[3]